ระบบด้านการเกษตร ระบบเกษตรยั่งยืน

ระบบเกษตรยั่งยืน
  ระบบเกษตรยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืนได้ถูกบรรจุไว้เป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาระยะที่ 8 และคงต้องดำเนินการต่อเนื่องในแผนพัฒนาระยะที่ 9 โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  ระบบเกษตรยั่งยืนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนหลายระดับ ตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ความหมาย จึงแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามผลรวมของระบบจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบอันเกิด จากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอก หน่วยวิจัยได้แยกแยะ ความหมายของเกษตรยั่งยืนตามลำดับชั้น ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติใน 3 ระดับ ดังนี้
  ..............................................................................................................
 
ระดับแปลง : เกษตรยั่งยืนอิงหลักการของนิเวศเกษตร เช่น การไหลเวียนของธาตุอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างพืชปลูกและศัตรูพืช และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายชีวภาพทางเกษตร
 
 
ระดับครัวเรือน : เกษตรยั่งยืนคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายของระบบการผลิตที่นำไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้ และกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครัวเรือนมีส่วนร่วม ในการเสริม สร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน
 
 
ระดับชุมชน : เกษตรยั่งยืนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน สิทธิการจัดการ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ิที่เป็นธรรมพร้อมทั้งการสร้าง สิ่งจูงใจเพื่อให้เกิดการร่วมทุนระหว่างชุมชนกับภาคเอกชน
 
  ระบบการผลิตในภาคเหนือสามารถจำแนกตามระบบนิเวศเกษตรซึ่งประกอบด้วยระบบการผลิตบนพื้นที่สูง ระบบการผลิตบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ระบบการผลิตในพื้นที่นาลุ่มเขตอาศัยน้ำฝน และเขตริมน้ำชลประทาน และเขตชานเมือง
  ..............................................................................................................
  งานวิจัยระบบเกษตรยั่งยืนเป็นระบบบูรณาการ ที่องค์ประกอบภายในเกื้อกูลกัน และเชื่อมโยงขีดความสามารถ ของระบบการผลิตทางเกษตร ที่ให้ผลต่อเนื่อง ในระยะยาวกับการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน งานวิจัยสามารถแยกแยะ และให้คำตอบแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ระดับต่าง ๆ ได้หน่วย วิจัยระบบเกษตรยั่งยืน ของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวทก.) เป็นหน่วยงานที่วิวัฒนาการมาจากงานวิจัยระบบพืชและระบบฟาร์มตามลำดับ ซึ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตและ เสถียรภาพ ของระบบการผลิตที่มีพืชเป็นหลัก ต่อมางานวิจัยด้านนี้ได้ขยายขอบเขตเป็นระบบการเกษตรในระดับชุมชน ดังนั้นจึงครอบคลุม ประเด็นด้านบทบาทของสถาบัน องค์กร และประเด็นทางสังคมชนบทที่มีผลกระทบต่อเกษตรในชุมชน จุดเน้นงานวิจัยด้านนี้ของ ศวทก. คือ การพัฒนาวิธีการและเครื่องมือที่ช่วย ในการระบุปัญหา พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วม ของกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียในระดับแปลง ครัวเรือน และชุมชนในด้านการผลิตอาหาร การพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
  ..............................................................................................................
  ขีดความสามารถของหน่วยวิจัย
  หน่วยวิจัยเกษตรยั่งยืนได้พัฒนาวิธีการและเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาระดับแปลง ฟาร์ม และชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางเลือก โดยทำงานร่วมกับเกษตรกร และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาที่หน่วยวิจัย มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน คือ
 
   
 
แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเกษตรยั่งยืน  
 
การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สนับสนุนระบบอาหารที่ปลอดภัย  
   
  ระบบการผลิตในภาคเหนือสามารถจำแนกตามระบบนิเวศเกษตรซึ่งประกอบด้วยระบบการผลิตบนพื้นที่สูง ระบบการผลิตบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ระบบการผลิตในพื้นที่นาลุ่มเขตอาศัยน้ำฝน และเขตริมน้ำชลประทาน และระบบการผลิต
  หน่วยวิจัยเกษตรยั่งยืนได้ร่วมรับผิดชอบในหลักสูตรมหาบัณฑิตนานาชาติเกษตรศาสตร์เชิงระบบ (Agricultural Systems) โดยพัฒนากระบวนวิชาและหัวข้อวิทยานิพนธ์ในกลุ่มกระบวนวิชา Agricultural Production Systems ซึ่งเป็นกลุ่มวิชา เลือกในหลักสูตรดังกล่าว





: 4901 ครั้ง
วันที่เผยแพร่ : 2018-05-07 15:04:10
เผยแพร่โดย : ฐานิต ศาลติกุลนุการ | หน่วยงาน : ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร